ในปี
พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ
ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา
เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา
ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง
จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู
ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์
และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี
นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial
Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง
ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน
มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์
ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น
นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic
Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง
ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง
นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน
การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง
และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี
และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง
หรือนักร้อง
7.ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
http://oknation.nationtv.tv ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด(Harvard University)ในปี ค.ศ.1983 เขาได้เขียนหนังสือชื่อ “Frames of Mind : The Theory of Multiple Intelligences” ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แนวคิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาว์ปัญญา” เป็นอย่างมาก และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการเรียนการสอน ในปัจจุบัน
แนวคิดเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา (Intelligences) ที่มีมาตั้งแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่ที่ความสามารถด้านภาษา
ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลเป็นหลัก
การวัดเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนจะวัดจากคะแนนที่ทำได้จากแบบทดสอบทางสติปัญญา
ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบความสามารถทั้ง 2 ด้านดังกล่าว
คะแนนจากการวัดเชาว์ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดเชาว์ปัญญาของบุคคลนั้นไปตลอด
เพราะมีความเชื่อว่า องค์ประกอบของเชาวน์ปัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยหรือประสบการณ์มากนัก
แต่เป็นคุณลักษะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด
การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” (Intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถใจการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” (Intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง รวมทั้งความสามารถใจการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้ การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
ซึ่งเขาบอกว่า ความจริงอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่าง
ๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา
ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2.เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสมในความคิดของการ์ดเนอร์
เชาวน์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการคือ
2.1 ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นไปตามธรรมชาติและตามบริบททางวัฒนธรรมของบุคคลนั้น
2.2
ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบท
ทางวัฒนธรรม
ทางวัฒนธรรม
2.3 ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
เชาว์ปัญญา 8 ด้าน ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ มีดังนี้
1.เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Linguistic
Intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่า “Broca’s
Area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน
การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด
การประพันธ์ การแต่งเรื่อง การเล่าเรื่อง เป็นต้น
2.เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical
Mathematical Intelligence) ผู้ที่มีอัจฉริยภาพด้านการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่าง ๆ
ให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทำอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย
ขอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3.สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial
Inteligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ การสร้างภาพ
การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่าง ๆ
และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
4.เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี (Musical
Inteligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
แต่ยังไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนไดื้บุคคลที่มีสติปัญญาทางด้านนี้
จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะ การร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง
การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวะต่าง ๆ
5.เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily-Kinesthetic
Intelligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์เท็กซ์
โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา
และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย
สติปัญญาทางด้านนี้สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น
ในการเล่นกีฬา และเกมต่าง ๆ การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การเต้นรำ ฯลฯ
6.เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal
Intelligence) เชาว์ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า
ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้ เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหาความขัดแย้ง
และการจัดระเบียบ ผู้มีความสามารถทางด้านนี้
มักเป็นผู้ที่มีความไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
7.เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal
Inteligence) บุคคลที่สามารถในการเข้าใจตนเอง
มักเป็นคนที่ชอบคิด พิจารณาไตร่ตรอง มองตนเอง และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเอง
มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่าง ๆ
จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ
สติปัญญาทางด้านนี้ มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น
มีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้านขึ้นไป
8.เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ (Naturalist
Inteligence) เชาวน์ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ รอบตัว บุคคลที่มีความสามารถทางนี้
มักเป็นผู้รักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว
และมักจะชอบและสนใจสัตว์ ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์
(2552, หน้า 33-36) ได้สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีพหุปัญญาดังนี้Gardner เชื่อว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่หลากหลายถึง 8 ประการหรืออาจมากกว่านี้ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน
ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
ละเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่
ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับส่งเสริมที่เหมาะสม
เชาว์ปัญญาที่ Gardnerแบ่งไว้ 8 ด้านมีดังนี้
1.ด้านภาษา (Linguistic intelligence) แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดการอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด การเล่าเรื่อง เป็นต้น
2.ด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence) ผู้มีอัจฉริยภาพด้านนี้มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบ ระเบียบในการคิดชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทำอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3.ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence) แสดงออกทางด้านศิลปะ การวาดภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่างๆ มักจะเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เป็นต้น ปัญหาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
4.ด้านดนตรี (Musical intelligence) แสดงออกทางความสามารถในด้านการร้องเพลง แต่งเพลง ไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวาต่างๆปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาเช่นกัน
5.ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence) สมองส่วนคอร์เท็กซ์คุมปัญญาด้านนี้ โดยด้านซ้ายคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวาด้านขวาคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย ซึ่งจะแสดงออกด้านการเล่นกีฬา เล่นเกมต่างๆ การแสดง การเต้นรำ เป็นต้น
6.ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่ควบคุมปัญญาด้านนี้ ซึ่งแสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ เป็นต้น ผู้มีปัญญาด้านนี้มักจะชอบช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่น
7.ด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence) ปัญญาด้านนี้มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้าน ซึ่งจะแสดงออกด้วยการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด ชอบความเงียบสงบ เป็นต้น
8.ด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆรอบตัว คนที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้รักธรรมชาติ ชอบ และสนใจสัตว์ เป็นต้น
1.ด้านภาษา (Linguistic intelligence) แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน การพูดการอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้คำศัพท์ การแสดงออกของความคิด การเล่าเรื่อง เป็นต้น
2.ด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical mathematical intelligence) ผู้มีอัจฉริยภาพด้านนี้มักจะคิดโดยใช้สัญลักษณ์ มีระบบ ระเบียบในการคิดชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะสิ่งต่างๆให้เห็นชัดเจน ชอบคิดและทำอะไรตามเหตุผล เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ง่าย ชอบและทำคณิตศาสตร์ได้ดี
3.ด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial intelligence) แสดงออกทางด้านศิลปะ การวาดภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สี การสร้างสรรค์งานต่างๆ มักจะเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ เป็นต้น ปัญหาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา
4.ด้านดนตรี (Musical intelligence) แสดงออกทางความสามารถในด้านการร้องเพลง แต่งเพลง ไวต่อการรับรู้เสียงและจังหวาต่างๆปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวาเช่นกัน
5.ด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ (Bodily kinesthetic intelligence) สมองส่วนคอร์เท็กซ์คุมปัญญาด้านนี้ โดยด้านซ้ายคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวาด้านขวาคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย ซึ่งจะแสดงออกด้านการเล่นกีฬา เล่นเกมต่างๆ การแสดง การเต้นรำ เป็นต้น
6.ด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น (Interpersonal intelligence) สมองส่วนหน้าเป็นส่วนที่ควบคุมปัญญาด้านนี้ ซึ่งแสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น การเข้าใจและเคารพผู้อื่น การแก้ปัญหา ความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ เป็นต้น ผู้มีปัญญาด้านนี้มักจะชอบช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่น
7.ด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal intelligence) ปัญญาด้านนี้มักเกิดร่วมกับสติปัญญาด้านอื่น มีลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชาว์ปัญญา อย่างน้อย 2 ด้าน ซึ่งจะแสดงออกด้วยการเข้าใจตนเอง มักเป็นคนที่ชอบคิด ชอบความเงียบสงบ เป็นต้น
8.ด้านธรรมชาติ (Naturalist intelligence) เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆรอบตัว คนที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้รักธรรมชาติ ชอบ และสนใจสัตว์ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนรู้
ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาว์ปัญญาหลายๆด้าน
ผู้สอนควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการในแต่ละด้านของผู้เรียนเนื่องจากผู้เรียนมีระดับพัฒนาการในเชาว์ปัญญาแต่ละด้านไม่เท่ากัน
การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ผู้สอนควรสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตน
และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น
รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ทั้งนี้เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีเชาว์ปัญญาแต่ละด้านไม่เหมือนกันการผสมผสานความสามารถด้านต่างๆที่มีอยู่ไม่เท่ากัน
ทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์ หรือลักษณะเฉพาะของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน
หรืออีกนัยหนึ่งเอกลักษณ์ของแต่ละบุคคลทำให้แต่ละคนแตกต่างกัน
และความแตกต่างที่หลากหลายนี้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมได้
ระบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู ควรประเมินหลายๆด้าน
และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหา ที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาว์ปัญญาด้านนั้น
สรุป
ทฤษฎีพหุปัญญา เชื่อว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่หลากหลายประการหรือ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ละเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับส่งเสริมที่เหมาะสม ปัจจุบันมีปัญญาอยู่หลายด้าน เช่น
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence)
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial
Intelligence)
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic
Intelligence)
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) 6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์
(Interpersonal Intelligence)
7.ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
ที่มา
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์ คอร์ปปอเรชั่น.
https://www.babybestbuy.in.th. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.
http://oknation.nationtv.tv. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.
ทฤษฎีพหุปัญญา เชื่อว่าเชาว์ปัญญาของบุคคลมีอยู่หลากหลายประการหรือ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ละเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับส่งเสริมที่เหมาะสม ปัจจุบันมีปัญญาอยู่หลายด้าน เช่น
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
7.ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
ที่มา
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์ คอร์ปปอเรชั่น.
https://www.babybestbuy.in.th. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.
http://oknation.nationtv.tv. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น