วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2561

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมทางการเรียนการสอน
          http://noompaiboon.blogspot.com ความหมายของนวัตกรรมทางการเรียนการสอน (Educationla Innovation)
          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542 : 565) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่าหมายถึงสิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิมซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการหรืออุปกรณ์ เป็นต้น
          ทิศนา แขมมณี (2548 : 418) ได้ขยายความหมายของนวัตกรรมจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..2525 ออกไปว่าสิ่งทำขึ้นใหม่ ได้แก่ แนวคิด แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อและเทคนิคต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งได้รับการคิดค้นและจัดทำขึ้นใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหาต่างๆทางการศึกษา
          สุนันทา สุนทรประเสริฐ (2547 : 9) กล่าวว่านวัตกรรมการเรียนการสอนคือสื่อการสอนที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยผ่าการผลิต การทดลองใช้ ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพแล้วจึงนาไปใช้จริงอย่างได้ผล
          ชนาธิป พรกุล (2537 : 59) อธิบายว่าการเรียนการสอน (Educationla Innovation) คือ สิ่งที่นำเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
          พจนานุกรม Oxford Advanced Learner’s Dictionary(2000:618) ได้ให้ความหมาย ของนวัตกรรมไว้ว่า การริเริ่มใช้สิ่งของ ความคิด หรือแนวทางใหม่ๆ ในการทำสิ่งต่างๆขึ้นมา
           สรุปได้ว่า นวัตกรรมทางการเรียนการสอน คือสิ่งใหม่ๆ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนหรือพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ แนวคิด รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ สื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการศึกษาคุณลักษณะของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
ลักษณะของนวัตกรรมทางการเรียนการสอน
          1.เป็นสิ่งใหม่เกี่ยวกับการสอนทั้งหมด เช่น วิธีสอนใหม่ๆ สื่อการสอนใหม่ ซึ่งไม่เคยมีใครทำมาก่อน
          2.เป็นสิ่งที่ใหม่เพียงบางส่วน เช่น มีการผลิตชุดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ แต่ยังคงมีรูปแบบเดิมเป็นหลักอยู่ ตัวอย่างเช่น มีบัตรเนื้อหา บัตรความรู้ บัตรทดสอบ แต่มีการเพิ่มบัตรฝึกทักษะความคิด บัตรงานสำหรับผู้เรียน เป็นต้น
         
3.เป็นสิ่งใหม่ที่ยังอยู่ในกระบวนการทดลองว่ามีประสิทธิภาพในการนำไปใช้มากน้อยเพียงไร เช่นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบูรณาการเข้าไปในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทุกรายวิชา
          4.เป็นสิ่งใหม่ที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้บ้างแล้วแต่ยังแพร่หลายเช่น แหล่งการเรียนรู้ท้องถิ่น มีวนอุทยานแห่งชาติอยู่ในท้องถิ่นนั้นแต่เนื่องจากมีอุปสรรคเกี่ยวกับการเดินทางจึงยังไม่เป็นที่นิยมของสถานศึกษาต่างๆ
          5.เป็นสิ่งที่เคยปฏิบัติมาแล้วครั้งหนึ่งแต่ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากขาดปัจจัยสนัสนุนต่อมาได้นำมาปรับปรุงใหม่ทดลองใช้และเผยแพร่จัดว่าเป็นนวัตกรรมได้

ในกรณีสิ่งนั้นที่นำมาใช้จนกลายเป็นสิ่งปกติของระบบงานนั้นไม่จัดว่าเป็นนวัตกรรม เช่น การจัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของโรงเรียนเมฆวิทยา เป็นนวัตกรรมของโรงเรียนที่ผู้บริหารสนใจและสนับสนุนให้ทุกกลุ่มและสาระการเรียนรู้ ผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกระดับชั้น จนกลายเป็นสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งของโรงเรียน จึงไม่เรียกคอมพิวเตอร์ช่วยสอนว่าเป็นนวัตกรรมอีกต่อไป

ประเภทของนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอน
          ปัจจุบันนี้มีบุคลากรทางวงการศึกษาต่างก็ผลิตนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนออกมาจำนวนมากขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนของแต่ละท้องถิ่น หรือเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้มักใช้เกณฑ์มาตรฐานของสานักงานรองรับมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เป็นบรรทัดฐานที่กำหนดเป้าหมายว่าต้องจัดทำนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะตามเกณฑ์การประเมินมาตรฐานการศึกษาถ้าผู้เรียนโรงเรียนใดมีลักษณะหรือคุณภาพไม่ถึงเกณฑ์ก็จะหาแนวทาง วิธีการที่จะสร้างนวัตกรรมมาใช้เพื่อเป็นเครื่องหรือปัจจัยที่จะทำให้คุณภาพของผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย
          พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2550 : 3 ) ได้กล่าวถึงนวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนว่านวัตกรรมที่ผลิตออกมาทางด้านการเรียนการสอนมีจำนวนมากแต่สามารถจำแนกประเภทได้ดั้งนี้
1. นวัตกรรมประเภทผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมประเภทนี้มีลักษณะเป็นสื่อที่ช่วยในการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจนในเรื่องที่เรียน หรือทำให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาการเรียนรู้ในทักษะด้านต่างๆได้เร็วยิ่งขึ้น นวัตกรรมประเภทนี้ได้แก่ ชุดการเรียน
 ชุดการสอน ชุดการเรียนการสอน แบบฝึกทักษะ ชุดการฝึก ชุดฝึกทักษะการเรียนรู้ บทเรียนสำเร็จรูปแบบสื่อผสม บทเรียนโปรแกรม เกม การ์ตูน นิทาน เอกสารประกอบการเรียนรู้ เอกสารประกอบการเรียนการสอน ฯลฯ
2. นวัตกรรมประเภทรูปแบบ เทคนิค วิธีการสอน นวัตกรรมประเภทนี้เป็นการใช้วิธีการสอนหรือเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆที่นักการศึกษาได้คิดค้นเพื่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ให้แก่ผู้รีเยนทั้งในด้านการความรู้ ทักษะกระบวนการ และเจตนคติ ซึ่งมีวิธีการสอนและเทคนิคการสอนจำนวนมาก ได้แก่ วิธีการสอนคิด , วิธีการสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ , CIPPA MODEL , วัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT , วิธีสอนตามแนวพุทธวิธี , วิธีสอนแบบบรูณาการวิธีสอนโครงงาน , วิธีสอนโดยการตั้งคำถาม ฯลฯ

นวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
          http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1 นวัตกรรมทางการศึกษาที่นำมาใช้ในการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เช่น
1.โปรเเกรม GSP ย่อมาจาก Geometeržs Sketchpad ยังเป็นของใหม่ในวงการศึกษาไทย แต่กว่า 60 ประเทศทั่วโลกเขาใช้กันแล้ว โดยแปลเป็นภาษาต่างๆ หากรวมภาษาไทยด้วยก็ 16 ภาษา 
GSP เป็นโปรแกรมที่ครูสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมาก สามารถนำเสนอภาพเคลื่อนไหว (Animation) มาใช้อธิบาย เนื้อหาที่ยากๆ เช่น ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ (เรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ แคลคูลัส), ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ และอื่นๆ ) ให้เป็นรูปธรรม ให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจง่าย และโปรแกรมยังเน้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติด้วยตัวเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปะ อย่างไม่มีข้อจำกัด โปรแกรม GSP พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Key Curriculum Press ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนถึงเวอร์ชั่น 4.0 โรงเรียนต่างๆ ในสหรัฐอเมริกาใช้โปรแกรมนี้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมากที่สุด และในหลายๆ ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา สหราชอาณาจักร สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง เดนมาร์ก ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ได้ใช้โปรแกรมนี้อย่างแพร่หลาย ในส่วนของประเทศไทยนั้นได้ลงนามในพิธีครองลิขสิทธิ์การใช้ซอฟต์แวร์ GSP เวอร์ชั่น 4.0  ณ โรงแรม อิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค กรุงเทพมหานคร 
โปรแกรมนี้ทำให้ครูและนักเรียนมีเวลาในการเรียนการสอนมากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลานานในการสร้างรูป เรขาคณิตจำนวนมากเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีต่างๆ อีกทั้งยังทบทวนได้ง่ายและบ่อยขึ้น การสอนด้วยโปรแกรม GSP ยังทำให้นักเรียนเรียนได้สนุก เข้าใจได้เร็ว และน่าตื่นเต้น นอกจากนั้น การใช้ GSP สร้างสื่อการสอนและใบงาน ยังทำได้รวดเร็วและแม่นยำกว่าใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศอื่นๆ 
GSP สามารถสร้าง เกมสนุกๆ ทางคณิตศาสตร์ ได้มากมาย ดังที่ปรากฏในหนังสือ 101 Project Ideas for The Geometeržs Sketchpad ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ จะได้สนุกกับการสร้างใบหน้าคนจากเส้นโค้ง เส้นตรง วงกลม สี่เหลี่ยม ที่แสดงอารมณ์ปกติและอารมณ์โกรธ และทดลองสร้างภาพด้วยตัวเอง นอกจากนั้น นักออกแบบโปรแกรม GSP ยังใช้สร้างแผนภาพ รูปร่าง รูปทรงสามมิติได้มากมาย 
2. โปรเเกรม Science Teacher"s Helper (โปรแกรม แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์)
เป็นโปรแกรมแก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ หรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ เป็นโปรแกรม Add-On สำหรับ Microsoft Word มันถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์เดียวเท่านั้นครับ คือ ช่วยคุณประหยัดเวลาในการเขียนหรือแก้ไข สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, เคมีและฟิสิกส์ในเอกสาร คุณสามารถที่จะ แก้ไข สูตรคณิตศาสตร์ ใส่ฟังก์ชั่นถึง 1200 ฟังก์ชั่นได้อย่างง่ายๆ กราฟหรือชาร์ตทางฟิสิกส์,เคมีและคณิตศาสตร์ลงในเอกสาร MS Word

ความหมายของสื่อ
          https://www.im2market.com สื่อ หมายถึง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2543 ได้ให้ความหมายไว้ว่า ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน นอกจากนั้นยังมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่าสื่อ ได้แก่คำว่า การติดต่อสื่อสาร ซึ่ง หมายถึง การถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความเครียด หรือการกระทำต่างๆ โดยมีเจตนาที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล พฤติกรรมในที่นี้หมายถึงการเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติและพฤติกรรมที่แสดงออกโดยเปิดเผย

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
         
https://mataveeblog.wordpress.com สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ใช่ถ่ายทอดหรือนำความรู้ ในลักษณะต่าง ๆ
จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการสอน (
Instruction Media) ในทางการศึกษามีคำที่มีความหมายแนวเดียวกันกับสื่อการเรียนการสอน เช่น สื่อการสอน (Instructional Media or Teaclning Media) สื่อการสอน (Educational media) อุปกรณ์ช่วยสอน (Teaching Aids) เป็นต้น ในปัจจุบันนักการศึกษามักจะเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ มารวมกันว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา(Educational) ซึ่งหมายถึงการนำเอาวัสดุอุปกรณ์และวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสอน
หลักการใช้สื่อการเรียนการสอน
          การใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นอาจจะใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน
  หรือจะใช้ในทุกขั้นตอนก็ได้  ดังนี้
          1. ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียนหรือเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในครั้งก่อน แต่มิใช่สื่อที่เน้นเนื้อหาเจาะลึกอย่างแท้จริง เป็นสื่อที่ง่ายในการนำเสนอในระยะเวลาอันสั้น
          2. ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน เป็นขั้นสำคัญในการเรียนเพราะเป็นขั้นที่จะให้ความรู้เนื้อหาอย่างละเอียดเพื่อสนองวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ต้องมีการจัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมการเรียน
          3. ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ สื่อในขั้นนี้จึงเป็นสื่อที่เป็นประเด็นปัญหาให้ผู้เรียนได้ขบคิดโดยผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อเองมากที่สุด
          4. ขั้นสรุปบทเรียน เป็นขั้นของการเรียนการสอนเพื่อการย้ำเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ควรใช้เพียงระยะเวลาสั้นๆ
          5. ขั้นประเมินผู้เรียน เป็นการทดสอบความสามารถของผู้เรียนว่าผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียนถูกต้องมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการประเมินจากคำถามจากเนื้อหาบทเรียนโดยอาจจะมีภาพประกอบด้วยก็ได้
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
          1.1 วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
          1.2 วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกลไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป รายการวิทยุ รายการโทรทัศน์ รายการที่ใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็นตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใครรู้ในรูปแบบต่างๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน ซึ่งจะทำให้ความรู้ที่ส่งผ่านมีการเคลื่อนไหวไปสู่นักเรียนจำนวนมาก ได้ไกลๆ และรวดเร็ว และบางทีก็ทำหน้าที่เหมือนครูเสียเอง เช่น เครื่องช่วยสอน ได้แก่เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องบันทึกเสียง
เครื่องรับวิทยุ เครื่องฉายภาพนิ่งทั้งหลาย
3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ
สื่อการสอนคณิตศาสตร์
http://pay-ppp.blogspot.com/2009/08/blog-post_23.html สื่อการสอนคณิตศาสตร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สื่อการสอนคณิตศาสตร์ประเภทวัสดุแบ่งได้เป็น 2 พวก
          1.1 วัสดุที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น กระดาษที่นำมาใช้ในกิจกรรมตัดกระดาษเพื่อหาพื้นที่ ของรูปทรง หาพื้นที่ผิวของกรอบ กิจกรรมพับกระดาษให้เป็นรูปทรงต่างๆ ฟิล์มเอ๊กซเรย์ที่ใช้แล้ว เพื่อใช้ในการสร้างรูปทรงสามมิติ เช่น ลูกบาศก์ ปิระมิด ปริซึม และรูปภาคตัดกรวย เชือก ถ่านไฟฉายและหลอดไฟ หลอดกาแฟ หรือลวดเพื่อใช้ในการสร้างรูปทรงสามมิติต่างๆ เป็นต้น วัสดุเหล่านี้เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิล์มเอ๊กซ์เรย์ที่ใช้แล้วสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ได้มากมาย และสามารถขอได้จากโรงพยาบาลทั่วไป
          1.2 วัสดุจำพวกสิ่งตีพิมพ์ เช่น แผนภูมิ กราฟ บัตรงาน เอกสาร ที่พิมพ์เกี่ยวกับแบบฝึกหัด
ปัญหาโจทย์หรือข้อสอบรวมทั้งตำราหนังสือแบบเรียนและแบบฝึกปฏิบัติคณิตศาสตร์ หนังสือเสริมทักษะ
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
อุปกรณ์บวกลบคูณหารแบบเนเปียร์ แผ่นป้ายสำลี กระเป๋าผนัง กระดานตะปู นาฬิกาจำลอง กระดานเศษส่วน กระดานเส้นจำนวน ลูกบาศก์ และกล่องหาปริมาตรปริซึมต่างๆ ปิระมิดแบบต่างๆ ปริซึมฐานหลายเหลี่ยมบรรจุใน ปิระมิด เครื่องมือคิดเลขฐานสอง เครื่องทดลองความน่าจะเป็น เครื่องมือสอนทฤษฎีปิธากอรัส แบบต่างๆ เครื่องมือ วัดมุม วงกลมหนึ่งหน่วย ภาคตัดกรวย ชุดแผนภูมิประมาณพื้นที่ของวงกลม ชุดแผนภูมินำเสนอข้อมูล ชุดแผนประมาณความยาวของเส้นรอบวงของวงกลม อุปกรณ์ชุดประมาณค่า อุปกรณ์แสดงปริมาตรของวงกลมโดยอาศัยความยาวของเชือก อุปกรณ์ชุดแยกตัวประกอบที่อยู่ในรูป ( ax + by )2 และ ( ax + by )3 โมโนกราฟ ภาพชุดของ นักคณิตศาสตร์เป็นต้น
อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งใช้สาธิตให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริง ส่วนหนึ่งเป็นเครื่องมือทดลองปฏิบัติ อุปกรณ์อีกพวกหนึ่งในกลุ่มนี้เป็นพวกที่ใช้ประกอบในการทดลองหรือการปฏิบัติทางคณิตศาสตร์ หรือใช้ในห้องปฏิบัติการทางคณิตศาสตร์ เช่น กรรไกร ที่ตัดกระดาษ ไม้ฉาก วงเวียน เครื่องมือเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร อุปกรณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องมีไว้ในห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
สื่อการสอนประเภทวิธีการ ได้แก่ วิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้มโนทัศน์ต่างๆ ในวิชาคณิตศาสตร์ สื่อการสอนประเภทวิธีการซึ่งนำมาใช้ ได้แก่ วิธีการอุปมาน ( Inducton ) วิธีการอนุมาน ( Deduction ) และวิธีจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

สรุป

          นวัตกรรมการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ หมายถึง การปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือคิดค้นสิ่งใหม่ๆ มาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีความแปลกใหม่ โดยใช้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วย เพื่อให้นักเรียนมีความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนในรายวิชาวิชาคณิตศาสตร์
          สื่อการเรียนการสอนทางคณิตศาสตร์ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ ซอร์ฟแวร์หรือฮาร์ดแวร์ที่นำใช้ในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบ่งได้เป็น
3 ประเภท คือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ แบ่งได้เป็น 2 พวก
          1.1 วัสดุที่ใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน
          1.2 วัสดุจำพวกสิ่งตีพิมพ์
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ

ที่มา
http://noompaiboon.blogspot.com.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.
http://mamay3naja.wixsite.com/jutatip305/services1.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.
https://www.im2market.com.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.
https://mataveeblog.wordpress.com.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.
http://pay-ppp.blogspot.com/2009/08/blog-post23.html.[ออนไลน์เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการสอนแบบโมเดลชิปปา(CIPPA Model)


รูปแบบการสอนแบบโมเดลชิปปา(CIPPA Model)
         
          ทัศนวรรณ รามณรงค์ (2555) หลักการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา ( CIPPA Model )  หลักการจัดการเรียนการสอนโมเดลซิปปา เป็นหลักที่นำมาใช้จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง(Construction of knowledge) ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้วยังต้องพึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) กับเพื่อนๆ บุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวรวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการ (process skills) ต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และเรียนรู้อย่างตื่นตัว ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย  อย่างเหมาะสม และจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี เข้าใจลึกซึ้งและอยู่คงทนมากขึ้นหากผู้เรียนมีโอกาสนำความรู้มาประยุกต์ใช้ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เสนอแนวคิดโดย รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี อาจารย์ประจำภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดเน้นที่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทั้งทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ 

          หลักการจัดของโมเดลซิปปา มีองค์ประกอบที่สำคัญ
 5 ประการ ได้แก่
        C มาจากคำว่า Construct หมายถึง การสร้างความรู้  ตามแนวคิด การสรรค์สร้างความรู้ได้แก่ กิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายต่อตนเองกิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
        I มาจากคำว่า Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว  ได้แก่ กิจกรรมที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล เช่น ครู เพื่อน ผู้รู้ หรือมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เช่น แหล่งความรู้ และสื่อประเภทต่าง ๆ กิจกรรมนี้ ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสังคม
         P มาจากคำว่า Physical Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย  ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ
         P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ  ที่เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนทำเป็นขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ ทั้งเนื้อหาและกระบวนการ กระบวนการที่นำมาจัดกิจกรรม เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการแสวงหาความรู้ เป็นต้น กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทางสติปัญญา
         A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้แก่ กิจกรรมที่ให้โอกาสผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน กิจกรรมนี้ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้หลายอย่างแล้วแต่ลักษณะของกิจกรรม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักโมเดลซิปปา 
          โมเดลซิปปามีองค์ประกอบสำหรับการจัดการเรียนการสอนที่สำคัญ 5 ประการ ครูสามารถเลือกรูปแบบ วิธีสอน กิจกรรมใดก็ได้ที่สามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบทั้ง 5 อีกทั้งการจัดกิจกรรมก็สามารถจัดลำดับองค์ประกอบใดก่อนหลังได้เช่นกัน และเพื่อให้ครูที่ต้องการนำหลักการของโมเดลซิปปาไปใช้ได้สะดวกขึ้น รองศาสตราจารย์ ดร. ทิศนา แขมมณี จึงจัดขั้นตอนการสอนเป็น 7 ขั้น ดังนี้
        1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม  เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน กิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่ การสนทนาซักถามให้ผู้เรียนบอกสิ่งที่เคยเรียนรู้ การให้ผู้เรียนเล่าประสบการณ์เดิม หรือการให้ผู้เรียนแสดงโครงสร้างความรู้ (Graphic Organizer ) เดิมของตน
        2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่  เพื่อให้ผู้เรียนหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ
        3. ขั้นศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่  และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม เพื่อให้ผู้เรียนสร้างความหมายของข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่ สรุปความเข้าใจแล้วเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
กิจกรรมในขั้นนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น กระบวนการคิด กระบวนการกลุ่มหรือกระบวนการแก้ปัญหา สร้างความรู้ขึ้นมา
        4. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม  เพื่ออาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ และขยายความรู้ความเข้าใจของตนให้กว้างขึ้น กิจกรรมนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนแต่ละคนแบ่งปันความรู้ความเข้าใจให้ผู้อื่นรับรู้และให้กลุ่มช่วยกันตรวจสอบความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกัน
        5. ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้  เพื่อให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
กิจกรรมนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย มโนทัศน์หลักและมโนทัศน์ย่อย ของความรู้ทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่แล้วนำมารวบรวมเรียบเรียงให้ได้ใจความสาระสำคัญครบถ้วน สะดวกแก่การจดจำ ครูอาจให้ผู้เรียนจัดเป็นโครงสร้างความรู้ ( Graphic Organizer ) ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยในการจดจำข้อมูลได้ง่าย
        6. ขั้นแสดงผลงาน  เพื่อให้โอกาสผู้เรียนได้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนด้วยการได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้อื่น กิจกรรมนี้ ได้แก่ การให้ผู้เรียนแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนด้วยวิธีการ ต่าง ๆ เช่น จัดนิทรรศการ จัดการอภิปราย แสดงบทบาทสมมติ เขียนเรียงความ วาดภาพ แต่งคำประพันธ์ เป็นต้น และอาจมีการจัดประเมินผลงานโดยใช้เกณฑ์ที่เหมาะสม
        7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้  เพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ให้เกิดความเข้าใจ และความชำนาญ กิจกรรมนี้ ได้แก่ การที่ครูให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงวิธีใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเท่ากับส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ ในระยะแรกครูอาจตั้งโจทย์สถานการณ์ต่าง ๆ แล้วให้ผู้เรียนนำความรู้ที่มีมาใช้ในสถานการณ์นั้น

ข้อค้นพบจากการวิจัย
          https://woraka.files.wordpress.com จากการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบโมเดลซิปปา มีข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้
         
1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อดิศร สิริ (2543 ได้ทำการวิจัยเรื่องพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยใช้โมเดลซิปปา สำหรับวิชาชีววิทยาในระดับมัธยมศึกษาที่ 5 พบว่า กิจกรรมการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นดังกล่าวทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา วิชาที่เรียน การมีส่วนร่วมในการเรียนทำให้นักเรียนมีความสนใจ สนุกสนานและนักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการในการเรียนรู้ นอกจากนั้นแล้วนักเรียนได้นำความรู้เดิมมาผสมผสานกับความรู้ใหม่เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวของนักเรียนเอง ทั้งจากการเรียนและการลงมือปฏิบัติจริง และนักเรียนยังสามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อศึกษาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียน กล่าวคือ นักเรียนได้คะแนนสูงกว่าร้อยละ 60 และจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่เป็น  100 % ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและนิตติญาพร ประเสริฐสังข์ (2545) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องกลไกมนุษย์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรูปแบบการสอนแบบซิปปา พบว่านักเรียนมีความกระตือรือร้น  และสนุกสนานกับการเรียน แล้วผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนร้อยละ 80 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผ่านเกณฑ์ความรอบรู้ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มที่กำหนดไว้
         
2 ความสนใจต่อการเรียน ดอกคูณ วงวันวัฒนา (2544) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้รูปแบบซิปปาในวิชาฟิสิกส์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนทุกคนให้ความสนใจต่อการเรียนมากขึ้น มีความสนุกสนานและให้ความร่วมมือในการเรียนและนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
         
3 ความสุขในการเรียน วาระยาณีย์ เพชรมณี (2546) วิจัยพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบซิปปา พบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาโดยใช้รูปแบบซิปปาทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้ง่ายขึ้น มีความกระตือรือร้น มีความสุข รู้สึกสนุกในการเรียน นักเรียนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองมีความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายกล้าแสดงออก สามารถอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับเพื่อนในชั้นเรียนในขณะทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดจนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่านักเรียนร้อยละ 88.37 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาผ่าเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้ คือ ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มต่อไป

สรุป

          หลักการจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโมเดลซิปปา (
 CIPPA Model ) 
เป็นหลักที่นำมาใช้จัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งนอกจากผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองและพึ่งตนเองแล้วยังต้องพึ่งการมีปฏิสัมพันธ์ กับเพื่อนๆ บุคคลอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมรอบตัวรวมทั้งต้องอาศัยทักษะกระบวนการต่างๆ จำนวนมากเป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้โดยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับรู้และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
หลักการจัดของโมเดลซิปปา มีองค์ประกอบที่สำคัญ
 5 ประการ ได้แก่
          C มาจากคำว่า Construct หมายถึง การสร้างความรู้  ตามแนวคิด การสรรค์สร้างความรู้
          I มาจากคำว่า Interaction หมายถึง การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว  
          P มาจากคำว่า Physical Participation หมายถึง การมีส่วนร่วมทางกาย  ได้แก่ กิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกายในลักษณะต่าง ๆ
          P มาจากคำว่า Process Learning หมายถึง การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ  ที่เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
          A มาจากคำว่า Application หมายถึง การนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง
ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักโมเดลซิปปา 
          1. ขั้นทบทวนความรู้เดิม  
          2. ขั้นแสวงหาความรู้ใหม่  
          3. ขั้นศึกษาทำความเข้าใจความรู้ใหม่  
          4. ขั้นแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม  
          5. ขั้นสรุปและจัดระเบียบความรู้  
          6. ขั้นแสดงผลงาน  
          7. ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้  

ที่มา
ทัศนวรรณ รามณรงค์.(2555). https://www.gotoknow.org/posts/547887.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม               2561.
https://woraka.files.wordpress.com.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2561.

         

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบและกระบวนการจัดการเรียนรู้(From and process of learning)


รูปแบบและกระบวนการจัดการเรียนรู้(From and process of learning)



          ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 11 นวัตกรรม ดังนี้
นวัตกรรมที่เป็นแนวคิด รูปแบบ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีดังนี้
          1. การจัดการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism)
          2. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Instruction)
          3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูลเป็นหลัก (Resource – Based Learning)
          4. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจิตสำนึกของเปาโล แฟร์
          5. การจัดการเรียนรู้แบบนีโอฮิวแมนนิส (Neo - Humanist)
          6. การจัดการเรียนรู้ศิลปะแบบเซอเรียลิสม์ (Surrealism)
          7. การจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีสามเกลียวแห่งเชาว์ปัญญาของมนุษย์ของ Sternberg (The triarchic theory of Human Intelligence)
          8. การจัดการเรียนรู้ภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach)
          9. การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self – Directed Learning)
          10. การจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนโมเดลชิปปา (CIPPA Model)
          11. การจัดการเรียนรู้แบบทักษะกระบวนการ 9 ขั้น
          12. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทำความกระจ่างในค่านิยม (Value Clarification) ตามแนวคิดของ ราธส์ และไซมอน
          13. การจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาและภูมิปัญญา มีดังนี้
          14. การจัดการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการ
          15. การจัดการเรียนรู้แบบไตรสิกขา
          16. การจัดการเรียนรู้แบบอริยสัจ
          17.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่ม มีดังนี้
          18. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สัญญาการเรียน (Learning Contracts)
          19. การจัดการเรียนรู้แบบสตอรี่ไลน์ (Storyline Method)
          20. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
          21. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบต่อภาพ (Jigsaw)
          22. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ CIRC
          23. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ STAD
          24. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบ TAI
          25. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนแบบทีมแข่งขัน (TGT)
          26. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม (Group Process)
          27. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพื่อนช่วยสอน (Peer Tutoring)
          28. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเสริมเพื่อนต่างระดับ
          29. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การระดมสมอง (Brainstorming Technique)
          30. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มสร้างคุณภาพงาน (Q.C.Circles)
          31. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างมโนทัศน์ มีดังนี้
          32. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างมโนทัศน์ของบรูเนอร์
          33. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer)
          34. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดกรอบมโนทัศน์ (Concept Mapping)
          35. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังทางปัญญา (Mind Mapping)
          36. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ Semantic Mapping
          37. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การนำเสนอมโนทัศน์กว้าง ล่วงหน้า (Advance Organizer)         
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาด้านภาษา มีดังนี้
          38. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนตามแนวคิดของบลู๊คสและวิทโธร (Brookes and Withrow)
 39. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบสนทนา
          40. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา
          41. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ (Process Writing)
          42. การจัดการเรียนรู้แบบการสอนอ่านแบบ PANORAMA         
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะ มีดังนี้
          43. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning)
          44. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนรู้เชิงสถานการณ์  (Situated Learning)
          45. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วงจรการเรียนรู้ (Learning Cycle Method)
          46. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method)
          47. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation)
          48. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีตัวอย่าง (Cases)
          49. การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Scientific Method)
          50. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Method)
          51. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem – Based Learning)
          52. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหา (Problem – Centered Learning Model :       PCLM)
          53. การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Method)
          54. การจัดการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Laboratory Method)
          55. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนทักษะตามหลักการของ ดี เชคโก (De Cecco)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นพัฒนาสมองและการคิด มีดังนี้
          56. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวกหกใบของเดอ โบโน (Six Thinking Hats)
          57. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน (Metacognition)
          58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT
          59. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การไตร่ตรองสารนิทัศน์ (Reflective Documentation)
          60. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การคิดแบบฮิวริสติกส์ (Heuristics)
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ มีดังนี้
          61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบแวนฮีลี่ (Van Hiele Model)
          62. การจัดการเรียนรู้แบบ เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K – W – D - L)
          63. การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กิจกรรมนันทนาการและศิลปะ มีดังนี้
          64. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมนันทนาการ
          65. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การเล่นปนเรียน (Play Way Method)
          66. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง
          67. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม
          68. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูน (Cartoon)
          69. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมศิลปะ
นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทวัสดุและสิ่งพิมพ์ มีดังนี้
          70. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน
          71. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอน (Instructional Package)
          72. การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดการสอนมินิคอร์ส
          73. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึก
          74. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อหุ่นมือ (Hand Puppet)
          75. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อในชีวิตประจำวัน
          76. การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผ่นพับ
 นวัตกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ประเภทสื่อโสตทัศนูปกรณ์ มีดังนี้
          77. การจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย
          78. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บช่วยสอน (Web – based Instruction)
          79. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เว็บเควสท (Webquest)
          80. การจัดการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก

          ประภัสรา โคตะขุน ได้รวบรวมรูปแบบการสอนต่างๆไว้ ดังนี้
          81.การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม(Questioning Method)
          82.การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
          83.วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
          84.วิธีสอนแบบหน่วย (
Unit Teaching Method)
          85.วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
          86.วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
          87.วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
          88.วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
          89.วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
          90.วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
          91.วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
          92.วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
          93.วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
          94.วิธีสอนแบบนิเทศ (
Supervised Plan)

          http://a-tech.aksorn.ac.th/2014aksorn/filepdf/รูปแบบการสอนแบบต่างๆ
          95.การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ(Discovery Method)
          96.การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย
(Deductive  Method)
          97.การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย
(Induction  Method)
          98.วิธีสอนแบบอภิปราย (
Discussion Method)

 สรุป
          จากการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนการสอนจากตำรา หนังสือ เว็บไซต์ รวบรวมได้ทั้งหมด 98 วิธีที่แตกต่างกัน ผู้สอนต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถและความต้องการของผู้เรียน เช่น อายุ เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน จำนวนนักเรียน สถานที่รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ

ที่มา
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท แดเน็กซ์                    อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
ประภัสรา โคตะขุน. https://sites.google.com/site/prapasara/15-1. [ออนไลน์] เข้าถึง เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561.
http://a-tech.aksorn.ac.th/2014aksorn/filepdf/รูปแบบการสอนแบบต่างๆ.[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม                2561.



นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ นวัตกรรมทางการเรียนการสอน           http://noompaiboon.blogspot.com ความหมายของนวัตกรรมทางการเรี...